แนวทางในการป้องกัน โรคหนังแข็ง อัพเดตล่าสุด

December 11, 2021 by No Comments

โรคหนังแข็ง หรือ Scleroderma เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังชนิดเรื้องรังที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งมักจะเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องไปกระตุ้น ให้ร่างกายของทุกคนกระตุ้นคอลลาเจนออกมาเยอะเกิน และการที่ร่างกายมีคอลลาเจนจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้เกิดเป็นผิวหนังที่แข็งกระด้างนั้นเอง บางคนอาจจะคิดว่าแค่ผิวหนังแข็ง จะต้องกังวลทำไม เพราะแพทย์ Rattinan Hospital หลายคนตรวจพบว่าผู้ป่วยบางราย มีปัญหาหนักไปจนถึงโครงสร้างใต้ผิวหนังเลย ไม่พอ ยังไปกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ที่อยู่ใต้ผิวหนัง

อาการของโรคผิวหนังแข็ง ที่พบได้บ่อยที่สุด

ปัจจุบันมีการศึกษาออกมาแล้วว่าเพศชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวน้อยกว่าเพศหญิง และส่วนใหญ่ที่พบอาการจะอายุในช่วง 30 ปีขึ้นไป โดยมีอาการต่อไปนี้

1.ผิวหนังแข็งตึง

ผิวหนังแข็งและตึง เป็นก้อนกลม ๆ หรือ วงรี คล้ายตาปลา เพราะคอลลาเจนมากเกินไป ทำให้การขยับอวัยวะในส่วนนั้นเป็นไปได้ยาก และลำบากมาก ซึ่งอาการผิวหนังแข็งไม่เลือกตำแหน่งในการติดเชื้อ ดังนั้นทั้งร่างกายมีความเสี่ยงเท่ากันหมด

2.ผิวบวม

นิ้วมือ หรือว่า นิ้วเท้า จะบวมขึ้นมาและเกิดการอักเสบจนเจ็บปวดได้ ซึ่งจะเป็นตำแหน่งปลายนิ้ว หรือบางรายมีภาวะของนิ้วซีดร่วมด้วย ทางกางแพทย์จะเรียกว่า ภาวะของเรเนาด์

3.มีจุดแดงคล้ายผื่น

พบจุดแดง ๆ ก้อนเล็ก คล้ายผื่น เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก และใบหน้า เกิดจากการเชื้อไปกระทบกับระบบเลือด ทำให้เกิดเป็นภาวะ เส้นเลือกฝอยขยายตัว และจะมีอาการข้างต้นออกมา

4.ปวดข้อ

ข้อต่อของร่างกาย จะเริ่มปวดและอักเสบ หรือ อาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง

5.ตา ปาก และคอแห้ง

รู้สึกว่าปาก ตา และลำคอจะแห้ง กระหายน้ำบ่อยครั้ง

6.หายใจลำบาก

หายใจได้ลำบาก และแสบร้อยในบริเวณกลางอก บางคนก็มีอาการท้องร่วงได้

ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคผิวหนังแข็งกระทบกับทุกระบบของร่างกายได้ และปัจจุบันความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ยังไม่มีแนวทางในการรักษาที่ชัดเจนชนิดเจาะจงโรคดังกล่าว

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหนังแข็งขึ้นมา ที่แพทย์พบบ่อย

สำหรับการตรวจรักษาอาการของแพทย์ที่ผ่านมา ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่ที่ชัดเจนคือโรคเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนมากเกินไป แต่ก็ยังมีแพทย์หลายคนคาดเดาจากการซักประวัติของคนไข้ โดยพบสาเหตุ  คือ การสัมผัสกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือตัวทำละลายต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันของผิวหนัง

แนวทางในการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับโรคผิวหนังแข็ง

เริ่มต้นการรักษาแพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยโรคก่อนและสอบถามประวัติเพื่อหาสาเหตุ พร้อมนำของเหลวในร่างกายไปตรวจทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาเชื้อต่อไป แต่คนไข้บางราย ก็จะได้รับการตรวจวินิจฉัย เป็นการ X-ray หรือ การส่งเนื้อเยื่อไปตรวจ ตรวจด้วยวิธี CT Scan เป็นต้น หากแพทย์ทราบแล้วว่าจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคมาจากไหน ขั้นตอนต่อไปก็จะทำการรักษา ตามอาการ ต่อไปนี้

  • จ่ายยาต้านการอักเสบ เพื่อลดอาการอักเสบภายในของร่างกาย และยังลดอาการปวดบวมของคนไข้ได้
  • ให้ยาสเตียรอยด์ ให้ตัวยาเข้าไปควบคุมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าดีขึ้น
  • ยาเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด เพราะหากมีอาการโรคหนังแข็ง ปลายนิ้วต่าง ๆ จะไม่ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยง เสี่ยงต่อการเซลล์ตาย ดังนั้นแพทย์จึงต้องจ่ายยาการหมุนเวียนเลือดไป
  • ให้ยาความดันเลือดสูง เพราะหากติดเชื้อและกระทบกับระบบของเลือด หลอดเลือดจะตีบ และอันตรายมาก ต้องให้ยาไปขยายหลอดเลือด ทำให้เลือกหมุนเวียนได้ดีมากขึ้น
  • สั่งจ่ายยาเป็นการลดอาการจุดเสียด ตามบริเวณต่าง ๆ ที่มีอาการ
  • ผ่าตัด เป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์จะใช้ในการรักษาอาการของคนไข้ เพราะต้องตัดชิ้นผิวหนังที่ติดเชื้อออกไปเลย แพทย์จะดำเนินการให้ในกรณีที่มีการติดเชื้อ และอาจจะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเท่านั้น

การป้องกันตอนเองให้ห่างไกลจากโรคผิวหนังแข็ง

เนื่องจากโรคดังกล่าวเป็นภาวะของภูมิคุ้มกันบกพร่องสาเหตุหลัก ดังนั้นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ยาก เพียงแค่ดูแลให้ตนเองแข็งแรง มีขั้นตอน ดังนี้

1.ออกกำลังกายทุกวัน

ขยันไปออกกำลังกายทุกวัน แม้ช่วงนี้จะมีโรค Covid-19 ระบาดอยู่ แต่ในการออกกำลังกาย ทุกคนก็สามารถทำได้เองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องออกไปที่ไหนเลย เน้นกานออกกำลังกายที่ถูกต้อง ไม่ต้องทุ่มเทหักโหมมากจนเกินไป เพราะจะไม่ส่งผลดีต่อตนเองในอนาคต ข้อแนะนำ ก่อนออกกำลังกาย ทุกคนต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่รัดตึงก่อน ป้องกัน เอ็น และ กล้ามเนื้อฉีกขาดได้

2.เลี่ยงการสูบบุหรี่

เลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่ หรือ ไม่รับควันบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารชนิดหนึ่งที่ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แย่ลงได้ ดังนั้นป้องกันไว้ และดีต่อสุขภาพในทุกระบบ ไม่ควรสูบบุหรี่เลย และนอกจากจะเป็นการดูแลตนเองแล้ว ยังดีต่อคนในคนสังคมด้วย

3.ทานอาหารครบ 5 หมู่

รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นไปที่วิตามินดี และซี เพราะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงยังสามารถสร้างเกราะป้องกันเชื้อโรคบนผิวหนังได้เป็นอย่างดีเลย

4.ไม่อยู่จุดเสี่ยง

ไม่พาตนเองไม่ให้สถานที่เสี่ยงหรือเข้าใกล้บุคคลที่เสี่ยงในการเป็นโรคหนังแข็ง

ทั้งนี้ในการดูแลตนเองควรทำเป็นประจำ เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายใช้เวลาในการสร้างความแข็งแรงเป็นเวลานาน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุดจากการลงมือทำนั่นเอง